1. การสร้างแฟลต/คอนโดมิเนียม (Flat/Condominium)
เป็นการสร้างที่อยู่อาศัยแบบแฟลตหรือคอนโดมิเนียมของผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยได้เช่าหรือซื้ออาศัยอยู่ มีการผ่อนส่ง/เช่าซื้อระยะยาวเพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ซึ่งมีการดำเนินการค่อนข้างมากทั้งรัฐและเอกชน เป็นรูปแบบการก่อสร้างในที่ดินที่มีเนื้อที่ค่อนข้างจำกัดหรือที่ดินที่มีราคาสูง ซึ่งสาu3617 มารถเพิ่มจำนวนความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยได้ แต่มีข้อจำกัด คือ มีต้นทุนสูง ถ้าจะให้ราคาถูกต้องใช้เงินอุดหนุนของรัฐมาก ที่ผ่านมาในช่วงแรกๆ ต้องอุดหนุนประมาณ 180,000 – 250,000 บาทต่อหน่วย ต่อมามีงบอุดหนุนในโครงการบ้านเอื้อบ้านประมาณ 88,000 บาท
2. การปรับปรุงในที่ดินเดิม (Slum Upgrading)
เป็นการปรับปรุงชุมชนในที่ดินเดิม คือการปรับปรุงพัฒนาระบบสาธารณูปโภคหรือบริการพื้นฐานที่จำเป็น ตลอดจนพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนให้ดีขึ้น เพื่อให้คุณภาพชีวิตของชาวชุมชนดีขึ้นและเชื่อมโยงกับการพัฒนาสังคมด้านอื่นๆ เป็นรูปแบบที่ยังคงรูปแบบชุมชนเดิมให้มีอยู่ต่อไป โดยปรับโครงสร้างสาธารณูปโภคเล็กน้อย ซึ่งมักขาดความมั่นคงในที่ดินสำหรับการอยู่อาศัยระยะยาว ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้สภาพชุมชนโดยรวมยังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่
3. การปรับผังที่ดินใหม่ (Reblocking)
เป็นการปรับปรุงแบบชุมชนเดิมให้เกิดระบบ มีผังและโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดีขึ้น โดยอาจมีการปรับรื้อย้ายบ้านบางส่วนและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ดีขึ้น เป็นการดำเนินการในกรณีที่สามารถเช่าที่ดินระยะยาวหรือซื้อที่ดินที่ชุมชนอยู่เดิมได้ซึ่งชุมชนมีความมั่นคงในการอยู่อาศัยและเกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยของตนเองได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยทั่วไปสภาพชุมชนจะดีขึ้น มีการปรับผังก่อสร้างบ้านใหม่ เพราะมีความมั่นคงเรื่องที่ดินเป็นการผสมผสานโครงสร้างของชุมชนเดิมบางส่วน และการปรับขยับบางส่วนใหม่ บางครั้งต้องตัดถนนเข้าไปเพื่อทำให้ระบบสาธารณูปโภคสามารถเข้าถึงที่ทุกแปลง บางที่ต้องขยับบ้านบางส่วน บ้านที่ใหญ่มากอาจต้องลดขนาดบ้านลง เพื่อให้สมาชิกทั้งหมดสามารถได้สิทธิอยู่อาศัยใกล้เคียงกัน
4. การประสานประโยชน์การใช้ที่ดิน/ การแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing)
เป็นการประสานประโยชน์ระหว่างชุมชนและเจ้าของที่ดินโดยเจ้าของที่ดินให้เช่าหรือขายที่บางส่วนให้ชุมชนในราคาถูก เพื่อแลกกับการใช้ประโยชน์จากที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งชุมชนสามารถอยู่ในที่ดินโดยมีความมั่นคงระยะยาวหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เกิดการจัดปรับผัง เกิดการก่อสร้างและการพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกันของชุมชนขึ้นใหม่ในที่ดินที่เล็กลง เช่น ชุมชนบ้านมนังคศิลา ชุมชนซอยเซ่งกี่ ชุมชนคลองลำนุ่น ที่ย้ายชุมชนที่กระจายตามริมคลองมาอยู่รวมกันในที่ดิน 2 ไร่ ที่เจ้าของที่ดินขายให้ในราคาถูก เป็นต้น โดย
รัฐให้การสนับสนุนในด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็นและชุมชนใช้เงินออมและสินเชื่อจากสถาบันการเงินในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของตนเอง
5. การก่อสร้างที่อยู่อาศัยในที่ดินเดิม (Reconstruction)
เป็นการรื้อย้ายจากบริเวณเดิมจากจุดหนึ่งไปอยู่อีกจุดหนึ่งโดยชุมชนต้องก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ทั้งหมด เมื่อชุมชนมีโอกาส มีความมั่นคง ชาวบ้านก็พร้อมที่จะลงทุนจะเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ซึ่งการรื้อย้ายและสร้างชุมชนใหม่ที่อยู่ในบริเวณเดิมทำให้ชุมชนยังคงสามารถอยู่ใกล้บริเวณชุมชนเดิมและแหล่งงาน ไม่ต้องปรับตัวมากและมีความมั่นคงโดยการเช่าที่ระยะยาว
6. การรื้อย้ายชุมชนไปอยู่ที่ใหม่ (Relocation)
ชุมชนบางแห่งมีขนาดเล็ก กระจายกันอยู่ ไม่สามารถอยู่ในที่ดินเดิมได้ หรือบางแห่งมีปัญหาการถูกไล่ที่ จำเป็นต้องรื้อย้ายพร้อมกัน จึงเกิดรูปแบบของการไปสร้างชุมชนในที่ใหม่โดยหาที่ดินใหม่ ซึ่งอาจซื้อที่ดินร่วมกันหรือเช่าจากรัฐ วางผังออกแบบเพื่อสร้างชุมชนในที่ใหม่ สร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่หมด และก่อสร้างจัดระบบบ้าน ระบบคนในที่ใหม่
รูปแบบนี้มีข้อดีคือสามารถจัดระบบ รูปแบบใหม่ได้ทั้งโครงการ สมาชิกมักกำหนดสิทธิและรูปแบบใหม่ได้พร้อมกันและใกล้เคียงกัน เนื่องจากเป็นการสร้างชุมชนใหม่ทั้งหมด และการที่ต้องย้ายไปในที่ใหม่ ชุมชนจำเป็นต้องปรับสภาพชีวิตการทำมาหากินใหม่ตามไปด้วย บางครั้งถ้าหากที่ไกลการคมนาคมลำบากก็จะมีปัญหาชีวิตเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จึงพยายามหาที่ดินที่ตั้งชุมชนใหม่ให้อยู่ใกล้ที่เดิมหรือใกล้กับเส้นทางคมนาคมให้มากที่สุด
7. รูปแบบการพัฒนาชุมชนเป็นแกน (Community Based Housing)
เป็นการพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัยโดยชุมชนต่างมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบ การวางผังการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง ทั้งนี้การพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนที่เชื่อมโยงช่วยเหลือกันในด้านอื่นๆ เช่น การออมทรัพย์ การจัดสวัสดิการของชุมชน การประกอบอาชีพ ฯลฯ เป็น
ลักษณะโครงการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการเลือกที่ตั้งของชุมชน กำหนดความต้องการเกี่ยวกับรูปธรรม การก่อสร้างการจัดการการเงิน การกำหนดการอยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความสามารถในการจัดการเรื่องเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและการจัดการของชุมชน เช่น โครงการที่อยู่อาศัยใต้สะพานที่รองรับกลุ่มที่อยู่ใต้สะพานในกรุงเทพฯ รวม 35 สะพาน โครงการวัดเจริญธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ชาวบ้านจ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยวันละ 15 บาท โครงการบ้านแพ จังหวัดพิษณุโลก ที่รองรับการรื้อย้ายชาวแพ โครงการบ้านมั่นคงชุมชนเจริญชัยนิมิตใหม่ โครงการบ้านมั่นคงคลองบางบัว ที่ย้ายขึ้นจากคลอง ฯลฯ แนวทางที่จะสามารถทำให้ชุมชนเชื่อมโยงการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับการพัฒนาอื่นๆ เช่น การพัฒนาสภาพแวดล้อม สวัสดิการ ธุรกิจชุมชน เป็นต้น
- ลักษณะแปลงที่ดินสภาพทั่วไปเช่น ต้นไม้ ทางน้ำ ที่ดินต้องถมมากหรือไม่
- ระบบสาธารณูปโภคทั้งหมด (น้ำ ไฟฟ้า ใกล้-ไกล ทางระบายน้ำ)
- ทางเข้า-ออก เส้นทางคมนาคมหลัก
- ทิศทางลม ฝน แดด สภาพอากาศ
- ความเป็นเครือญาติ ความผูกพัน
- กลุ่มสังคมที่มีอยู่
- การมีกิจกรรมร่วมกัน
- การสร้างกลุ่มย่อยเพื่อการจัดการและการอยู่ร่วมกัน
- ราคา
- ความยากง่ายในการก่อสร้าง
- การดูแลรักษา
- การพิจารณาความสามารถในการจ่าย
- พื้นที่ใช้สอยที่ออกแบบอย่างสอดคล้องกับจำนวน สมาชิก อาชีพ ศาสนา อายุ ความจำเป็น และพฤติกรรม
- วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง
- รูปร่าง รูปแบบอาคาร
- เอกลักษณ์ของชุมชน
- กฎหมายอาคาร
- ราคาก่อสร้าง
- การสร้างระบบกลุ่มย่อยในผังใหม่
- ชุมชน ประโยชน์การใช้สอย
- ทุนทรัพย์ ตั้งอยู่บนความพอดี
- ราคาวัสดุ และร้านค้า
- สภาพแวดล้อม เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศ