playlists faocebook CODINew icon_tw Intranet mail
ภาษาไทย english หน้าหลัก

ข้อควรรู้ / เคล็ดลับ   การวาผัง การออกแบบ และการก่อสร้าง

เคล็ดไม่ลับเกี่ยวกับการวางผังและออกแบบ

“มีส่วนร่วม” ในกระบวนการทำผังที่ดี ควรเกิดขึ้นอย่างมีส่วนร่วม ชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ เอาความต้องการมาระดมกัน เพราะปลูกบ้านต้องตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ต้องตามใจผู้นอน ดังนั้นไม่มีใครรู้จักรู้ใจเราเท่าตัวเราเอง..อย่าละเลยที่จะเข้ามามีส่วนร่วม สำคัญมาก

 “ความร่วมมือหลายส่วน”  แม้ว่าชุมชนจะเป็นเจ้าของในการร่วมคิด ลงมือทำ หยิบจับสิ่งต่างๆ แต่การทำงานร่วมกับหน่วยงานเฉพาะทาง เฉพาะด้านก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ เป็นส่วนเติมเต็มให้งานนั้นๆสมบูรณ์มากขึ้น การทำงานเชื่อมประสานท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบต. เทศบาล เขต เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้งานขยับไปได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันในการจัดทำผัง โมเดล รูปแบบต่างๆ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอย่างวิศวกรกองช่างเทศบาล หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนอย่าง สถาปนิกสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ก็เป็นฝ่ายสนับสนุนที่สำคัญ การทำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน ชุมชน ท้องถิ่น พอช.ที่เริ่มตั้งแต่ต้นโครงการย่อมทำให้งานเกิดขึ้นไปด้วยดี เช่นเดียวกันในการวางผังและออกแบบ หากก่อนวางผังนั้นทั้งสามฝ่ายได้คุยกันหารือร่วมกัน ระดมความคิดเห็นมารวมกัน ย่อมทำให้ได้ผังที่สมบูรณ์และถูกต้องตรงตามขั้นตอน อันจะเป็นผลดีทั้งตอนก่อสร้างและการอนุมัติงบดำเนินการต่างๆ อีกด้วย

“เส้นทางการอนุมัติ : อนุมัติเร็ว – อนุมัติช้า” ความสำคัญของการทำงาน 3 ประสาน กับการอนุมัติงบประมาณนั้น กล่าวคือเมื่อจัดทำผังเสร็จแล้วนั้นจะต้องส่งไปยังท้องถิ่น หรือเมือง เมื่อเมืองดูแล้วไม่ผ่านก็จะนำมาสู่การปรับแก้ เช่น อาจจะต้องเพิ่มบางจุดหรือลดบางจุด หากแก้ผ่านก็จะส่งไปยังระดับจังหวัดและไประดับภาค และบางครั้งภาคเองก็ส่งไปที่เวทีชาวบ้าน

หลักการอนุมัติงบฯ

1. เรียนรู้ เวทีชาวบ้าน

2. ให้ความเห็น เวทีภาค

3. อนุมัติ

     โดยรายละเอียดในการอนุมัตินั้น จะพิจารณาทั้งในเรื่องของรายรับ-รายจ่ายของแต่ละบุคคล และองค์ประกอบการจัดวาง การบริหารจัดการที่ดิน การส่ง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในชุมชน รวมทั้งการจัดการที่โปร่งใส


ข้อควรระวังในช่วงการขออนุมัติ ถ้าสมาชิกเกิดการขัดแย้งกันเองก็จะทำให้โครงการยิ่งล่าช้าได้

หัวใจของบ้านมั่นคง

1.      การสร้างชุมชนและปรับระบบความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันของเมือง

2.      สร้างบ้าน เพื่อให้บ้านนำไปสู่การปรับความสัมพันธ์ของคนในเมือง ยกระดับชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันในเมือง
     และสิ่งสำคัญอย่าลืมว่าจุดมุ่งหมายของบ้านมั่นคงนั้น ก่อเกิดบนความคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้คนที่มีรายได้น้อยสามารถอยู่ร่วมกับคนที่รายได้มากได้ ดังนั้นในการจัดการใดๆ ก็ตามต้องคำนึงถึงหัวใจนี้ด้วย และการที่จะไปถึงและเข้าใจจุดมุ่งหมายร่วมกันได้นั้น ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างคนในชุมชนให้มั่นคงด้วย ก่อนสร้างบ้าน เราควรสร้างคนให้เข้มแข็ง มั่นคงเสียก่อน

คำว่า “มั่นคง” หมายถึง คนที่เข้าใจกระบวนการ คนที่รู้จักที่จะช่วยเหลือแบ่งปันกัน รู้จักกัน สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ รวมทั้งผู้นำ แกนนำที่มั่นคง เข้มแข็งเป็นแบบอย่างสำหรับสมาชิกได้

การรับรอง

     ในการรับรองผังและแบบบ้านต่างๆ ทางสถาปนิกหรือทางวิศวกรท้องถิ่นจะเป็นผู้รับรอง ดังนั้นถ้าเราสามารถร่วมมือกับท้องถิ่นได้ ก็จะส่งผลให้เกิดความสะดวกในการประสาน จัดการต่างๆ ในอนาคตด้วย เช่น การขอใบอนุญาตก่อสร้าง การช่วยเหลือเรื่องงบประมาณสนับสนุนเพิ่มงบสาธารณูปโภค รวมทั้งเรื่องค่าใบอนุญาตหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ

การก่อสร้าง

 “บ้านหนึ่งหลัง” เราควรจะต้องรู้อะไรบ้าง

-      บ้านหนึ่งหลังเราต้องเริ่มดูจาก ตอหม้อ เสา ไม้วัด การขุดหลุม

-      ต้องดูว่าบ้านของเราจะเป็นเข็มปูนได้ไหม เข็มไม้ได้ไหม พื้นที่ไหน ดินแน่นไหม ฯลฯ

-      ส่วนใหญ่ชาวบ้านไม่ได้คำนึงถึงรากฐานสักเท่าไหร่ เพราะเขาไม่รู้ ทั้งๆ ที่เป็นส่วนจำเป็นมาก

-      เจ้าของบ้านบางคนบอกว่าจะให้ไปดูทำไมเพราะไม่รู้เรื่องเพราะเรามีช่างชุมชน เพราะบางที่ตั้งวงกบหน้าต่างวงกบร้าว ดังนั้น ช่างชุมชนเองควรต้องให้คำแนะนำกับเจ้าของบ้านด้วย

-      ความเข้มข้นของปูน เรื่องทราย เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านจะต้องรับรู้ด้วย อย่าละเลย!!

-      ห้ามทำการต่อเติมพื้นที่บ้าน ต้องดำเนินการตามแบบแผนบ้านจนโครงการเสร็จ หากจะเพิ่มเติมอย่างไรควรปรึกษาช่างชุมชนและจะต้องได้รับอนุญาตในการเพิ่มเติมด้วย

-      ความหนาของเหล็ก น้ำหนักของเหล็กควรรู้ไว้บ้าง เพราะเมื่อเหล็กน้ำหนักดี คุณภาพก็จะดีตามไปด้วย  (เหล็กเต็มโรงเล็ก เหล็กเต็มโรงใหญ่ น้ำหนักน้อยคุณภาพต่ำ ควรใส่ใจ น้ำหนักเป็นตัวตั้ง) เทคนิคการตรวจรับปูน เมื่อเวลาที่รถปูนจะมาเทปูนที่บ้าน ช่างชุมชนและเจ้าของบ้านจะต้องมาดูที่น้ำหนักของรถว่ามีน้ำหนักเท่าไหร่? น้ำหนักรถจะหมุนเวียนกัน คือ เกิน 300 กิโลกรัม และเก็บใบเสร็จไว้ เพื่อเอามาตรวจดูเรื่องน้ำหนักกับสเตงปูน หากต่างกันแสดงว่าไม่ถูกต้อง ข้อสังเกตคือแม้ว่าเราจะไม่รู้เรื่องสเตงปูน แต่อย่างน้อยก็ควรรู้เรื่องน้ำหนักของปูน เพราะเมื่อเทเราจะได้รู้และช่วยให้เราจะสามารถเปรียบเทียบทั้งโครงการ

-      การวางผัง การขุดหลุม เข็มไม้ เข็มปูน ดินแน่นไม่ใช้เข็มในการทำฐาน

-      ดูดิน ดูการตอก ดูตั้งแต่ตอนวางสาธารณูปโภค ถมที่ดินแข็งมากไม่ต้องลงเข็ม เพราะฐานดี การลงเข็ม ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่แถวกรุงเทพและปริมณฑล และตะวันออก ริมตลิ่ง เพราะดินไม่แน่นทำให้ต้องลงเข็ม

-      กรณีดินทราย หลุมตอม่อ จะใช้หินก้อนใหญ่รองฐานและค่อยเทปูนแล้ววางตะแกรง ลักษณะเช่นนี้ทางเทศบาลรับได้เวลาที่มาตรวจงวดงาน ซึ่งทางกองช่างเทศบาลจะมาตรวจงานงวดหนึ่ง

-      เวลาเทพื้นบ้าน ตะแกรง บางคนคว่ำ บางคนหงาย ในลักษณะที่คว่ำนั้นจะเปลืองปูน แต่ลักษณะหงายนั้นจะรับน้ำหนักได้โดยที่ไม่ต้องใช้ปูนเยอะ แต่ต้องขยับตะแกรงยกนิดหน่อย โดยตัวที่หงาย

-      ต้องมีการเทปูนหยาบก่อน ส่วนกรณีคว่ำไม่ต้องเทปูนหยาบทั้งนี้การเททับตะแกรง จะต้องมีการกำหนดการเท จะเทหนาขนาดเท่าไร

-      กรณีบทเรียนจากบ้านจัดสรร เวลาเทปูนนั้นพบว่า พอนานๆ ไปบ้านร้าวทุกหลัง เป็นเพราะรากฐานไม่แน่น เหล็กไม่เต็ม

-      วงกบประตูหน้าต่าง ถ้าไม่ใส่เส้นทับหลังขอบจะแตก ดังนั้นต้องใส่

-      เทคนิคการใช้ชาวบ้านสร้าง เป็นกลยุทธหนึ่งที่จะทำให้ชาวบ้านรักกัน หากบางครอบครัวต้องทำงานก็อาจให้ลูกหลานมาทำแทน หรือถ้าไม่มีเลยก็จะจ้างแรงงานมาทำ

-      การดูแลรักษา ถนนหนทาง ไฟถนนหนทาง ควรมอบให้ท้องถิ่นไปเลย เพื่อให้เขารับผิดชอบ

-      ในกรณีโฉนดร่วม ที่ดินซื้อ การจะยกถนนให้หลวงนั้นควรจะต้องมีการคุยกันก่อน เพราะการยกให้จะเป็นประโยชน์ต่อเรื่องงบสาธารณูปโภคที่ได้มาไม่พอ ดังนั้นการให้ท้องถิ่นจะดีกว่า แต่ต้องมีมติจากชาวบ้านเสียก่อน

แบ่งปัน
Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to Twitter