playlists faocebook CODINew icon_tw Intranet mail
ภาษาไทย english หน้าหลัก

thepruksa1

ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นตำบลที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติประกอบกับมีแหล่งน้ำซับที่เกิดขึ้นจากเทือกเขาพนมดงรัก เป็นต้นน้ำที่ไม่มีสารเจือปนใดๆ ชาวบ้านทับทิมสยาม04ในเขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา จึงมีแนวคิดการแก้ปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จึงพร้อมใจกันร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคท่อน้ำเพื่อจะดึงเข้าสู่ชุมชน

นายจีรพงษ์ ทุนมี ประธานสภาองค์กรชุมชน ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ได้กล่าวว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มซึ่งในแต่ละปีชาวบ้านต้องซื้อน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค อันเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้ง  ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ดังนั้นจึงได้มีการประชุมประชาคมเพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องนี้ไปพร้อมๆกัน และมติเป็นเอกฉันท์คือการบริจาคเงินเงินเพื่อนำไปซื้อท่อน้ำ PVC เพื่อวางระบบน้ำซับเข้าสู่หมู่บ้าน

นายทวนชัย จิตต์สะอาด กำนันตำบลเทพรักษา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทรัพยากรธรรมชาติที่มีแหล่งน้ำไหลออกมาไม่มีวันแห้งขอดนี้เรียกว่า  น้ำซับ ซึงไหลออกมาจากซอกหินตลอดเวลา ชาวบ้านจึงมีแนวคิดที่จะร่วมแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะน้ำที่เป็นน้ำดื่ม ซึ่งเข้าสู่ฤดูแล้งจะมีความลำบากอย่างมาก

ด้วยสภาพปัญหาภาพรวมของตำบลยังขาดน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคของแต่ละครัวเรือน  จึงมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งน้ำที่สะอาดเพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต

ของมนุษย์ นอกเหนือจากการร่วมแรงร่วมใจกันจากสมาชิกในชุมชนแล้ว ก็มีการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานส่วนราชการภาครัฐและภาคเอกชน

การวางท่อน้ำจากแหล่งน้ำซับรวมระยะทางกว่า 13 กิโลเมตร ลำพังการสนับสนุนจากชาวบ้านคงไม่สามารถวางท่อน้ำให้ถึงชุมชนได้ ดังนั้นคณะกรรมการหมู่บ้านพร้อมด้วยชาวบ้านจึงคิดริเริ่มขอรับการสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อความยั่งยืนจากภาครัฐ

-โครงการประชารัฐ พัฒนาชุมชนเพื่อความเข้มแข็ง

-การสนับสนุนจากกองทุนหมู่บ้าน

-การสนับสนุนจากมูลนิธิหลวงปู่สรวง  วัดไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีษะเกษ

          ต่อมาเมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการและมูลนิธิ จึงได้รวบรวมจัดซื้อจัดจ้าง

อุปกรณ์  ในการดำเนินงานการวางท่อน้ำชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันจัดการในรูปแบบการเสียสละแรงงาน

โดยไม่คิดค่าแรง มีมติกันว่าแต่ละครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 1 คนต่อการวางท่อน้ำ 1 วัน

ซึ่งระยะทางกว่า 13 กิโลเมตร ใช้เวลา 13 วันจึงแล้วเสร็จเข้ามาในชุมชนเพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงกัน

          การบริหารจัดการในการพัฒนาน้ำดื่มเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ชาวบ้านสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่เดือดร้อนเรื่องน้ำขาดแคลนอีกต่อไป พร้อมสร้างวิถีชุมชนคลุมประเด็นคือความสุขที่แท้  มีจิตสำนึกที่ดี  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึงกัน  ประนีประนอม

thepruksa2.jpgthepruksa3.jpg

ขั้นตอนการบริหารอีกจุดคือ การจัดเก็บค่าบริการน้ำซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคโดยไม่เสียค่าบริการ ส่วนองค์กรต่างชุมชนจะมีการเรียกเก็บค่าบริการน้ำตามความเหมาะสม

ลำดับต่อมาจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการน้ำขึ้นมาดังนี้

โครงสร้างคณะกรรมการ

๑.นายทวนชัย  จิตต์สะอาด         ประธาน

๒.นายรัตน์  เที่ยงตรง               รองฯ

๓.นายบุรพล  ลับโกษา             รองฯ

๔.นายจีรพงษ์  ทุนมี                เหรัญญิก 

๕.นายจำนงค์  ทนทาน             เลขานุการ

๖.นายวัฒนา  วงษ์มี                กรรมการ

๗.นายชั้น  กมลเดช                 กรรมการ

๘.นายวุฒิชัย  ดวงดี                กรรมการ

๙.นางสาวนาฎลดา  เนียมงาม      กรรมการ

๑๐.นางจัด  บุญพูล                 กรรมการ

๑๑.นายสี  ยิ่งหาญ                 กรรมการจัดเก็บค่าน้ำ

๑๒.นางใหม่  จันมณี                กรรมการ

๑๓.นายสุข  วันนา                  กรรมการ

๑๔.นางผั่ว  ดวงดี                   กรรมการ

๑๕.นางจันทร์เพ็ญ  ทองก่ำ        กรรมการ

๑๖.นางปนัดดา  แรงหาญ              กรรมการ

คณะที่ปรึกษา

๑.นายสุชาติ  สุภาพันธ์    ปลัดอำเภอ(ป้องกัน)

๒.นายเต็ม  สามสี                   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา

๓.นางนุชจิรา จันทร์ภา     ผอ.รพสต.บ้านทับทิมสยาม๐๔

เรื่องแผนธุรกิจชุมชนก็เป็นเรื่องสำคัญ การใช้กระบวนการแผนชุมชนจนเกิดการค้นหาศักยภาพ

และการพัฒนาที่แท้จริงของชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อเข้าสู่ด้านเศรษฐกิจชุมชนที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและสมาชิกในชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนในระยะยาวต่อไป

          นายจีรพงษ์  ทุนมี กล่าวต่อไปว่าการดำเนินงานเรื่องน้ำดื่ม(น้ำซับ)จะต้องใช้เวทีเรียนรู้สึกษาดูงาน

วิเคราะห์ สังเกต เพื่อพัฒนาคน พัฒนาเพื่อบรรจุภัณฑ์ในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสาธารณะสุข องค์การอาหารและยา(อ.ย)และวางแผนกระบวนการตลาด เป็นการต่อไป

          ความจำเป็นพื้นฐานที่เป็นปัจจัยหลักอีกสิ่งหนึ่งคือ น้ำ และความสำเร็จที่เกิดขิ้นจากการพัฒนาสิ่งนี้

คือ หมู่บ้าน ตำบลมีจุดขายที่เรียกว่า ทุน จากธรรมชาติ เพื่อการนำมาแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ

พัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่คนในชุมชนแบบยั่งยืนและมั่นคง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์โดยแท้

          แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากเราไม่ใช้น้ำกันอย่างประหยัด  และไม่รู้คุณค่าแล้ว ไม่ช่วยกันดูแลรักษา

ต่อให้มีแหล่งน้ำที่สะอาด  สักร้อยแห่งก็อาจไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

แบ่งปัน
Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to Twitter