playlists faocebook CODINew icon_tw Intranet mail
ภาษาไทย english หน้าหลัก

ข่าวความเคลื่อนไหวงานพัฒนา

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อตั้งเมื่อปี 2550 โดยสมาชิกที่เป็นอาสาสมัคร อปพร. และสมาชิกทั่วไปรวม 115 คน เงินกองทุน 4,675 บาท มีการจัดตั้งคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากตัวแทนสมาชิก ผู้นำชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง การทำงานในช่วงแรก เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้และสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกกองทุนฯ และเพิ่มจำนวนการจ่ายสวัสดิการที่หลากหลาย เมื่อผลการดำเนินงานของกองทุนฯเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประชาชนในตำบลหนองขาม เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจและครอบคลุมทุกหมู่บ้าน กองทุนสวัสดิการชุมชนได้ทำงานควบคู่ไปกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการกองทุน มีการพูดคุยเพื่อปรึกษาหารือกับทางคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม และหน่วยงาน กศน.ตำบล เพื่อช่วยเหลือและฟื้น...
บ้านป้อมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสภาพเป็นสังคมเมืองกึ่งชนบท ความเป็นอยู่เริ่มเข้าสู่สภาวะสังคมเมืองด้วยอยู่ในแถบย่านธุรกิจ  ความเป็นอยู่เริ่มต่างคนต่างอยู่ การทำงานร่วมกันลดลง มีความแยกส่วน ความเอื้ออาทรลดน้อยลง  จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านป้อมและพัฒนาสู่การสร้างสังคมแห่งการให้และการรับอย่างมีศักดิ์ศรี สู่กองทุนสวัสดิการชุมชน จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านป้อม เริ่มหลังจากมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับฟังแนวทางการพัฒนาสู่กองทุนสวัสดิการชุมชน  สวัสดิการวันละ 1 บาท  แกนนำเกิดแรงบันดาลใจกลับมาหารือกับผู้นำและสมาชิกในชุมชนให้เข้าใจเรื่องการจัดตั้งกองทุนเป็นการช่วยเหลือด้านสวัสดิการในตำบล  จึงมีการ...
ตำบลเขาดิน อำเภอหนองแซง จ.สระบุรี มีผู้รู้เล่าต่อกันมาว่าหมู่บ้านแห่งนี้ ในสมัยโบราณมีกองดินขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายภูเขา  จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ตามกองดินที่มีลักษณะดังกล่าวว่า บ้านเขาดิน ซึ่งกองดินแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดเขาไกรลาส  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก อาชีพรอง คือ เพาะเห็ด ปลูกผัก เลี้ยงวัว แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 921 คน มีจำนวน 238 ครัวเรือน มีวัดอยู่ 2 แห่งซึ่งแต่ละวัดจะเป็นศูนย์รวมของภาษาพูดและวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน โดยจะมีคลองชลประทานไหลผ่าน           จากอดีตการทำเกษตรของคนในชุมชน ได้แก่ การทำนา เลี้ยงสัตว์  ปลูกผัก เผาถ่าน จะใช้ควายในการไถนา และนำมูลสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ เศษพืชผัก ใบไม้ เศษอาหารท...
“หันตรา” เป็นชื่อทุ่งนาหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในเอกสารทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชโอรสสมเด็จเจ้าสามพระยา  ทุ่งหันตราในสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกใช้เป็นที่ซ้อมรบของทหารมาโดยตลอด จนเรียกขานว่าทุ่งหาญกล้า และใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของราชการ เป็นแหล่งประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและนวดข้าวของหลวง พระมหากษัตริย์เสด็จมาประกอบพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง แสดงให้เห็นว่าทุ่งหันตราในอดีตเป็นสถานที่สำคัญและเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่โบราณ ในสมัยต่อมาได้มีการแบ่งเขตการปกครองแยกหมู่บ้าน ตำบล โดยมีการตั้งชื่อตำบลหาญกล้าและเปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลหันตราจนถึงปัจจุบัน   ตำบลหันตรา มีประชากร 2,513 ครัวเรือน รวม 5,206 คน เป็น 1 ใน 21 ตำบล ในอำเภอพระนครศรี อยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำ...
“ตำบลน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง กับสภาองค์กรชุมชน คนเจริญธรรม” นี่คือวิสัยทัศน์ของสภาองค์กรชุมชนตำบลเจริญธรรม ที่มุ่งพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตัวเองได้           สภาองค์กรชุมชนตำบลเจริญธรรม อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี  จัดตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559 โดยมีกำนัน สาโรช มีภู่ เป็นประธานสภาฯ มีการจัดโครงสร้างการบริหารแบ่งบทบาทหน้าที่ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนา มีคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนที่มาจากกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้ง 8 หมู่บ้าน โดยใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีกลางในการพูดคุยถึงปัญหา และแนวทางการแก้ไขเรื่องต่างๆ ในชุมชน และจากการดำเนินงานของสภาองค์ชุมชนปัญหาที่พบ คือ ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของมีรายได้น้อยชำรุดทรุดโทรมไม่น่าอยู่ ทำให้สภาองค์กรชุมชนตำบลเจริญธรรมต้องเข้ามาช่วยเหลือ และซ...
ตำบลท่าดินแดง เป็นตำบลดั้งเดิม ตั้งอยู่ที่อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชาชนส่วนใหญ่จะสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณริมแม่น้ำน้อย เดิมบริเวณนี้ใช้เป็นที่จอดเรือสินค้า ระหว่างอำเภอผักไห่กับอำเภอเสนา และบริเวณนี้จะมีดินสีแดง ชาวบ้านจึงเรียกตำบลนี้ว่า "ท่าดินแดง" ภายในตำบลมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน้อย ปัจจุบันมี 8 หมู่บ้าน รวม 534 ครัวเรือน ประชากรรวม 1,965 คน อาชีพหลัก ทำนา รับจ้างทั่วไป อาชีพเสริม ตัดเย็บเสื้อผ้า จักสาน ทำขนมไทย ผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวาย เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน           ด้วยสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มทำให้น้ำท่วมทุกปี ส่งผลให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย  จากปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคือง ชาวบ้านมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน  จึงมีการรวมกลุ...
“ตาย ตาย เศรษฐกิจแบบนี้ ป้าไม่มีเงินส่งสมทบเข้ากองทุนแน่ๆ” เสียงบ่นจาก “ป้าโอ๋ขายหมู” นางลำไย แสงทิม สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนวิหารแดง จากหมู่ที่ 7 ตำบลวิหารแดง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ในวันที่ป้าโอ๋ เดินทางมาเพื่อเบิกสวัสดิการช่วยเหลือจากเจ็บป่วยแล้วนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ของสามี จำนวน 5 คืน กองทุนสวัสดิการชุมชนวิหารแดง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ปี 2551 จากสมาชิกเริ่มแรก 225 ราย ปัจจุบัน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561) เพิ่มเป็น 2,066 ราย จากวิสัยทัศน์ “เป็นกองทุนที่มีการจัดการอย่างเข้มแข็งและมั่นคงในการจัดสวัสดิการชุมชนในทุกมิติ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน ภายใน ปี 2565” ซึ่งดูแลสมาชิกตั้งแต่ครรภ์มารดา จนถึงเชิงตะกอน เริ่มจากจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกแค่ 3 เรื่อง (เกิด เจ็บ และตาย) แต่ปัจจุบัน มีสวัสดิการมากกว่า 12 เรื่อง ทั้งที่เป็นตัว...
คนไร้บ้านเป็นรูปธรรมที่แสดงถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้วยสถานะของคนที่จนที่สุดที่ไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยและต้องใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เราจะเพิ่มความสุขและรอยยิ้มให้กับประชาชนที่ยากไร้ ด้วยคำขวัญที่ว่า “คูเมืองเก่าแต่โบราณ นมัสการพระเจ้าใหญ่ สุดสวยผ้าไหมไทย แลวิไลบึง สระบัว”  พุทไธสงจึงถูกมองว่าเป็นเมืองโบราณ จึงทำให้มีหน่วยงาน กรมศิลปากร กรมธนารักษ์ เข้ามาปักหมุดกำหนดขอบเขตกำแพงเมืองพุทไธสง จึงทำให้พี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพุทไธสงเกิดความเดือดร้อน ที่อยู่อาศัยซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนของกรมศิลปากรและ กรมธนารักษ์ซึ่งส่งผลกระทบของที่อยู่อาศัยทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์ก็ไม่สามารถนำไปเข้าธนาคารเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกอบการกู้สินเชื่อและไม่สามารถขออนุญาตปลูกสร้างได้ และผู้ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ต้องออกจากบริเวณนั้น สมาชิกมีรายได้...